Powered by Blogger.
RSS

ธรรมะบรรยาย จาก พระครูอดุลย์ธรรมคุณ (พระอาจารย์นิ่ม) เมื่ือ 4 พ.ค.2555

           "ในคำสอนของพระพุทธเจ้า  การไม่ทำบาปทั้งปวง เพราะว่าบาป หรืออกุศลเหล่านั้น ก็จะทำให้คนเรา ได้รับความทุกข์ ความเดือดร้อน  และบาปอกุศลเหล่านั้นก็ดลบันดาลไปในทางที่เป็นความวิบัตินานาประการ ท่านจึงบอกว่า กรรมชั่ว ไม่ทำเสียเลย ดีกว่า เพราะทำแล้วย่อมส่งผลเป็นทุกข์ในภายหลัง... ความยังกุศลให้ถึงพร้อม  ก็คือ ทำความดีให้ถึงพร้อม คำว่าถึงพร้อมในที่นี้ ก็หมายถึงว่า ด้วยกาย เรียกว่า กายกรรม ด้วยวาจา เรียกว่า วจีกรรม ด้วยจิตใจเรียกว่า มโนกรรม อย่างเช่นที่พวกเราท่านทั้งหลาย ได้เสียสละ ความสุขจากบ้านจากเรือน เสียสละการงาน อันเป็นรายได้ มาประพฤติธรรม มาปฏิบัติเช่นนี้ เรียกว่า มาด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจของเรา แล้วก็มาอบรมกายวาจาใจของเรา ให้มีความอ่อนน้อมถ่อมตัวให้ มีความเสียสละ ท่านที่มีกำลัง มีทรัพย์ ก็เอามาบริจาค มาให้ทาน เพื่อที่จะเป็น ทานะบารมีของเรา ก็คือ สร้างทาน เพื่อที่จะให้จิตใจของเราเนี่ย มีความซาบซึ้ง มีความละเอียด และเราก็เชื่อว่า ผลของทานเนี่ย ส่งผลให้เรามีความเจริญรุ่งเรือง มีความร่มเย็นเป็นสุข สมหวังสมปรารถนา ดังที่ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า บุญกุศลนั้นถึงแม้ว่าจะไม่มีตัวตน แต่ก็มีพลานุภาพที่จะผลักดันสัตว์โลกให้เป็นไปตามอำนาจ และบุญกุศลก็ส่งผล ดลบันดาล หล่อหลอมให้จิตใจของบุคคลๆนั้น ก้าวไปสู่ความยิ่งใหญ่ในคุณงามความดี  มีคุณงามความดีเป็นครื่องประดับตกแต่งจิตใจและกายวาจา
เหมือนราตรีที่มีดวงเดือนดวงดาว เป็นเครื่องประดับ  ย่อมไม่มืดมน อนธกาล  ฉันใดก็ดี ชีวิตที่มีคุณความดีเป็นสิ่งประดับตกแต่ง ก็ย่อมทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองและมีความร่มเย็นเป็นสุขทั้งปัจจุบันและเบื้องหน้า

          ด้วยความรู้อย่างนี้ พวกเราท่านทั้งหลาย จึงมีศรัทธาประสาธะ คือ ความเชื่อ ความเลื่อมใสของเรา มาเพื่อฝึกฝนปฏิบัติกับพ่อครูบาอาจารย์ที่พาปฏิบัติ ท่านได้เมตตาอบรมสั่งสอน ให้ธรรมะแก่เรา เราก็ตั้งใจปฏิบัติตาม แม้จะลำบาก แม้จะต้องเสียสละขนาดไหน เราก็ไม่ได้คิดอะไร  ทุกคนยังคงมีกำลังใจ มีความเข้มแข็ง ที่จะต่อสู้อดทน เพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งคุณงามความดี ไม่ว่าจะเป็นการให้ทาน การรักษาศีล เรียกว่าศีลมัยกุศล  หรือการบำเพ็ญภาวนา ที่กำลังทำหน้าทีอยู่ในขณะนี้ ก็เพื่อที่จะหล่อหลอมกล่อมเกลา เพื่อที่จะให้เกิดเป็นภาวนามัยกุศล

           การภาวนานั้น ถือว่าเป็นกุศลชั้นสูง ซึ่งทำได้ไม่ง่ายนัก เพราะว่า ต้องมานั่งควบคุมจิตใจ นั่งอยู่เฉยๆเนี่ย ธรรมดามันก็ไม่เมื่อยไม่ปวด แต่พอเรานั่งภาวนาเนี่ย เป็นยังไงก็ไม่รู้  ความเมื่อยความปวดนี่มันเข้ามา ความอึดอัดความ ...เรียกว่า บางทีมันอึดอัดจนหงุดหงิด เพราะว่าจิตมันไม่ลง มันไม่สงบ  ถ้าจิตมันสงบ มันลงละก็สบาย มันก็ปลอดโปร่ง ถ้ามันไม่สบาย อึดอัด ลืมตาแล้วลืมตาอีก มันก็ไม่จบ  ก็ยังไม่ออกกัน เราไม่สงบ หลับตาต่อไปประเดี๋ยวประด๋าว 2นาที 3 นาทีก็ลืมมาดูข้างๆ เค้าก็ยังไม่ออก ฮู้ ไอ้เราไม่สงบ  ยิ่งอึดอัดเข้าไปอีก เพราะฉะนั้น ท่านจึงว่า ให้เราพยายาม ทำใจสบายๆ พยายาม ปล่อยวาง อย่าไปคิดอะไรมาก...ภาวนา .... ทำจิตของเราให้เกิด มนัสิการที่ เปี่ยมไปด้วยความรู้สึกที่ศรัทธาปะสาธะ จิตที่สงบลงไปเป็นสมาธิ  ไม่ว่าจะเป็นสมาธิระดับไหน สมาธินั้นก็จะส่งผลให้เรา มีความสุข มีความสบายใจในขณะที่เราปฏิบัติ  เรากำหนดจิต ดังเช่น ในสมัยหนึ่ง อาตาภาวนาแล้ว ทำไมมันมีความสุข   เดินจงกรมซักครึ่งชั่วโมงนี้รู้สึกว่า รู้สึกว่ามันมีความสุข นั่งสมาธิ พอจิตเรา กำหนด พอเรากำหนดสติแน่วแน่ นิ่ง ลงไปเนี่ย เราจะรู้สึกว่า มีความสุข หล่อเลี้ยงขึ้นมา เรื่อยๆ ลมหายใจของเราจะมีความรู้สึกขึ้นมาว่า มันลึกซึ้ง มันสบาย มันสบายใจ จะหาอะไรมาเทียบกับความสบายใจในขณะนั้น ก็เรียกว่า หายาก หาไม่ได้ อือม .............พระพุทธเจ้าจึงทรงตรัสว่า สุขอื่นนอกจากความสงบนั้น ไม่มี อันนี้ เพียงแค่ระดับที่ ที่เป็นสมถะ เพราะฉะนั้นท่านจึงบอกว่า ให้สงบก่อน เอาจิตให้สงบก่อน  เมื่อจิตสงบแล้วจึงก้าวขึ้นไปสู่ ระดับที่เป็นวิปัสสนา  ก็คือ การจะรื้อถอนกิเลส  เรียกว่า ละจากอุปาทาน  ก็ต้อง เจริญ วิปัสสนาญาณ คำว่า วิปัสสนาญาณ ก็คือ การทำใจของเราให้สามารถ ปล่อยวาง  ในทางแห่งการปฏิบัติท่านบอกว่าการจะบรรลุเป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี อนาคามี หรือ พระอรหันต์เนี่ย  ต้องละสังโยชน์  .สังโยชน์มี 10 ประการ อันนี้ตามหลักทฤษฏี แต่ว่าเราจะปฏิบัติก็ต้องรู้ทฤษฎีเหมือนกัน  ถ้าไม่รู้ทฤษฏีเลย บางทีก็ทำไปเรื่อยก็ มันไม่มีแผนที่ พูดง่ายๆก็หลงทาง ถึงมีแผนที่ก็หลงเหมือนกัน  แต่หลงน้อยหน่อย  เพราะว่าคนมีแผนที่ก็พอเลาๆไป..............."


ฟังต่อที่  http://youtu.be/ViAiYMctBhY


  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment