Powered by Blogger.
RSS

Video สุเวศน์ ภู่ระหงษ์สรุปการบรรยาย มีชีวิตอย่างพอเพียง ให้ผู้ถูกคุมประพฤติฟังเื่มื่อ 24 พ.ค.2554

            กว่า 10 ปีแล้ว ที่ สุเวศน์ ภู่ระหงษ์เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้กับหน่วยงานต่างๆ ซึ่งในครั้งล่าสุด 24 พ.ค.2554 สุเวศน์ ภู่ระหงษ์ ถูกเชิญไปบรรยายในหัวข้อ "มีชีวิตอย่างพอเพียง" ให้กับผู้ถูกคุมประพฤติ" ได้ฟังกัน

            ในการเตรียมตัวบรรยายให้ความรู้นั้น สุเวศน์ ภู่ระหงษ์จะใช้หลักของ อ.เสรี พงษ์พิศที่ว่า "ถ้ามีเวลาเตรียมตัวทั้งหมด 10 วัน จะใช้เวลาเตรียมข้อมูล 7 วัน เพื่อให้พร้อมให้มากที่สุด" ทำให้ในวันที่ 24 พ.ค.2554 ช่วงเวลาที่ต้องพูดบรรยาย คือ 10.30-12.00 น. เวลากว่า 90 นาที ไม่พอสำหรับการพูดเนื้อหาที่เตรียมมาทั้งหมด แต่ก็ได้สาระความรู้ที่เข้มข้นมากพอสมควร

            มีสาระ ข้อคิดที่มีคุณค่าจากการบรรยายในวันนั้น ซึ่งมีผู้ถูกคุมประพฤติที่มาจากต่างจังหวัด และติดใจในการบรรยายของสุเวศน์ ภู่ระหงษ์ ทางสำนักงานคุมประพฤติ จ.จันทบุรี ได้ทาบทาม ให้สุเวศน์ มาพูดอีกในครั้งต่อไป แม้หลายคนไม่มีโอกาสได้ร่วมฟังการบรรยายในวัน เวลานั้น แต่ข้อมูลและสาระที่เตรียมไว้นั้น มีคุณค่ามากมาย จึงได้มีการบันทึกวิดีโอ พูดถึงประเด็นต่างๆในการบรรยายแบบสรุป เพื่อเป็นสาระความรู้ สู่สมองสำหรับผู้สนใจฟังต่อไป

            การบรรยายในวันที่ 24 พ.ค.นั้น จัดที่วัดโค้งสนามเป้า เป็นการพูดคุยให้กับผู้ถูกคุมประพฤติได้ฟัง ซึ่งเป็นคนที่เจอคดี เมาแล้วขับ นั่งฟังกันเต็มศาลาวัด ซึ่งในวิดีโอนี้ สุเวศน์ได้พูดถึง วิธีการอบรม การใช้ศิลปะ และความเ็ป็นศิลปินผสมผสานกับเนื้อหาที่จะพูด รวมทั้งจิตวิทยาในการนำเข้าสู่เนื้อหา



            ในช่วงต้น ได้เปิดเพลง คาราโอเกะ "เพลงพระภูมิพล" ให้ผู้เข้าร่วมฟังได้ร่วมร้องเพลง ร่วมกัน เ็ป็นการเปิดเวทีแบบมีส่วนร่วม จากนั้นจึงเล่าเรื่องราวของอดีต รมต.รักเกียรติ สุขธนะ ซึ่งไม่เคยแก้ตัวที่ทำผิด และนำข้อคิดจากคุณรักเกียรติมาเล่า รวมทั้งเหตุการณ์ตอนที่อยู่ในคุก มาพูดให้ผู้ฟังเห็นสัจธรรม นอกจากนี้ ยังได้นำเรื่องจากหนังสือของ อ.สุเทพ อัตถากร มาเล่าเป็นข้อคิดเตือนสติ และต่อเนื่องด้วย การพูดถึงเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวง กับความเข้าใจในความลึกซึ้งของในหลวง ในตอนท้าย มีคำถามที่ทำให้ผู้ฟังการบรรยายได้ฉุกคิด กับประเด็น คนที่ทำร้ายเรามากที่สุดคือใครและปิดท้ายด้วยธรรมะ ข้อคิด เรื่องสติ - สมาธิ และบุคคลสำคัญที่ควรระลึกถึง


  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment