Powered by Blogger.
RSS

เบื้องหลังการทำงานสำคัญของดินรักษ์ฟ้า บทเสภา ภาพพระคู่ฟ้าคู่แผ่นดินเมื่อ 27 เม.ย.2554

            ผลงานทุกชิ้น เกิดจากการศึกษาเรียนรู้และประสบกาารณ์ที่ผ่านมา ที่สร้างสรรค์ให้เกิดงานชิ้นนั้นขึ้น แม้จะมีข้อจำกัดหลายอย่างก็ตาม เช่นเดียวกับเบื้องหลังการทำงาน การเขียนบทกวี ชื่อ "พระคู่ฟ้าคู่แผ่นดิน" ถ่ายทอดจากภาพของในหลวง ซึ่งพี่ kat Dinrakfha "แคทรียา อัตถากร" ได้ถ่ายทอดสิ่งที่อยากบอกเล่า กับเรื่องราวของในหลวง ในแง่มุมที่อยากให้คนไทยได้รับรู้


            คุณแคทรียา เป็นคนไทยคนหนึ่งที่ติดตามพระราชกรณียกิจ และเรื่องราวของในหลวงมาอย่างต่อเนื่อง และเพียรพยายามถ่ายทอดเรื่องราวของพระองค์ท่าน โดยการนำภาพพระบรมฉายาลักษณ์ ภาพถ่ายในโอกาสต่างๆ นำมาเผยแพร่ในช่องทาง facebook ในระบบอินเตอร์เนต มีคำบรรยายประกอบบ้าง  โดยพยายามนำเสนอในรูปแบบนี้ มาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายเดือน เพื่อให้คนไทยได้ร่วมชื่นชม ร่วมเทิดทูน และร่วมสำนึกในพระมหากรุณาธิึุคุณของพระองค์ท่าน ซึ่งมีรายละเอียดอีกหลายอย่างที่คุณแคทรียาอยากจะถ่ายทอดออกมา แต่มีข้อจำกัดหลายอย่าง ทำให้คุณแคทรียา สามารถถ่ายทอดในสิ่งที่อยากนำเสนอได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น


            เมื่อได้มีโอกาสสัมผัสการทำงาน มองเห็นความตั้งใจ ความเพียรพยายามตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา มีหลายคนร่วมให้กำลังใจ และพร้อมที่จะช่วยเหลือ เท่าที่จะสามารถทำได้ ส่วนหนึ่งที่อยากให้ความตั้งใจของกลุ่มดินรักษ์ฟ้า เป็นจริงเพิ่มขึ้น นายบอนจึงเชื่อม ประสานให้ความตั้งใจอีกหลายอย่าง เริ่มเป็นรูปร่างมากขึ้น หยิบสิ่งที่คุณแคทรียา พยายามนำเสนอผ่านทาง facebook ให้มีคุณค่ามากขึ้น โดยเธอได้เลือก 10 ภาพของในหลวงแล้ว print ออกมาใส่กระดาษแข็งอย่างดี แ้ละได้พูดถึงสิ่งที่อยากให้ถ่ายทอดเกี่ยวกับภาพที่เลือกมา


            คุณแคทรียา ได้พูด และทำการบันทึกวิดีโอไว้ เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 25 เม.ย.2554  และนำวิดีโอมาเปิดให้้ "สุเวศน์ ภู่ระหงษ์" ได้ฟัง ในวันที่ 26 เม.ย.2554  ได้เห็นหน้าตา ความตั้งใจ โดย "สุเวศน์ ภู่ระหงษ์" ได้นั่งฟัง และจดประเด็นสำคัญ จากทั้ง 10 ภาพไว้






            การบันทึกวิดีโอไว้ ทำให้มองเห็นสีหน้า แววตา  น้ำเสียงที่พูดออกมา สัมผัสได้ถึงความตั้งใจจริง จากข้อมูลที่มีมากมาย เมื่อต้องพูดออกมา จึงเน้นประเด็นที่สำคัญจริงๆเกี่ยวกับภาพนั้นๆ แทนการหยิบยกข้อความยาวๆ ซึ่งอาจทำให้ ผู้ฟัง ผู้อ่าน จับประเด็นที่สำคัญ ไม่ตรงกับสิ่งที่คุณแคทรียา ต้องการให้เน้นได้ การได้ฟังจากเสียงพูดผ่านวิดีโอ  จะได้ยินกับหูว่า จุดไหน ที่สำคัญ เน้นตรงไหน หัวใจสำคัญอยู่ตรงไหน จากน้ำเสียงที่พูดออกมานั่นเอง (ทำให้เนื้อหาส่งจากต้นทาง สู่ปลายทาง ผ่านประสาทการรับรู้ที่จะทำให้จดจำประเด็นได้มากขึ้น ทั้งพูด คิด เขียน ได้ถึง 3 ช่องทางการรับรู้ ไม่ใช่ แค่ การอ่าน เพียงช่องทางเดียว


            หลังจากที่ฟังวิดีโอ และจดประเด็นเสร็จ ก็ถึงเวลาของการตัีดสินใจว่า ภาพไหนที่จะถูกเลือกมาเขียนบทกวีเป็นภาพแรกของงานนี้ ปรากฏว่า เป็นภาพ "พระคู่ฟ้าคู่แผ่นดิน" ซึ่งคุณแคทรียา อัตถากร ได้อธิบายภาพนี้ว่า นึกถึง วันราชาภิเษกสมรส 28 เมษายน  พ.ศ.2493 ทำให้ "สุเวศน์ ภู่ระหงษ์" ตัดสินใจ เลือกภาพนี้มาเขียนบทกวี   เพราะต้องการเขียนเพื่อให้ทันวันที่ 28 เม.ย.2554        


            หลังจากบอกว่า จะเขียนบทกวีเรื่องนี้ สุเวศน์ ภู่ระหงษ์เข้านอนช่วง 5 ทุ่ม ตื่นเช้าวันที่ 27 เม.ย.2554 ท่านบอกว่า เมื่อคืนตอนเข้านอน ก็ชักไม่แน่ใจเหมือนกันว่า ที่รับปากไ้ว้นั้นจะเขียนบทกวีได้หรือไม่  แต่หลังจากทำภารกิจส่วนตัวในช่วงเ้ช้าแล้ว สุเวศน์ ภู่ระหงษ์ ก็มานั่งเขียนบทแรก ขึ้นวรรคแรกทันที และขอถามความเห็น ว่าจะเขียนประเด็นแบบนี้ดีไหม


            เมื่อต้องเขียนบทกวีเกี่ยวกับในหลวง "สุเวศน์ ภู่ระหงษ์" จะพิถีพิถันมากเป็นพิเศษ มีสิ่งหนึ่งที่ลังเล คือ การใช้คำราชาศัพท์ ควรจะใช้คำไหนจึงจะถูกต้อง ต้องหาที่ปรึกษา หาคนสอบถาม เพราะไ่ม่อยากให้ผิดเช่นกัน แต่ในช่วงนั้น มีเวลาจำกัด เพราะนายบอนจะกลับในเวลา 8.00 น. อีกไม่ถึงชั่วโมง "สุเวศน์ ภู่ระหงษ์" รีบสรุปประเด็น แ้ล้วเขียนบทกวีทันที จนเสร็จสมกับที่ตั้งใจไว้


photo


            จากบทกวีที่เขียนในสมุด มีบางคำที่เขียนไม่ถูก แต่ออกเสียงถูก

            "แบบนี้คงต้องหาพจนานุกรม คำราชาศัพท์ มาให้คุณลุงแล้วล่ะ จะได้เปิดดูว่า คำที่ถูกต้อง เขียนยังไง"
            "ดีมากเลย จะได้เขียนให้ถูก"

            หลังจากเขียนบทกวีัเสร็จ จึงตัดสินใจถ่ายเป็นวิดีโอ ให้คุณลุงขับเสภา เพื่อเอาไปลงเผยแพร่ในอินเตอร์เนตทันที คุณลุงรีบไปเปลี่ยนเสื้อ งานนี้ถ่ายเพียงครึ่งตัว เมื่อพร้อม 7.30 น. ก็เริ่มข้บเสภากันสดๆ

            รอบแรก เมื่อขับเสภาจนจบ คุณลุงบอกว่า ออกเสียงผิด คำว่า "สดุดี" ต้องออกเสียงว่า สะ-ดุ-ดี แต่คุณลุงออกเสียง สะ-ดุด-ดี เลยขอถ่ายวิดีโอรอบที่สอง ซึ่งรอบที่สอง ออกเสียงท่อนกลางผิดอีก จึงต้องถ่ายรอบที่สาม ซึ่งรอบสุดท้ายออกเสียงถูกต้องทุกคำ ผ่าน..เสร็จแล้ว เปิดเสียงให้คุณลุงนั่งตรวจสอบอีกรอบ

            คุณลุงสุเวศน์ บอกว่า อยากจะไปห้องบันทึกเสียงสิงหา บันทึกเสียงขับเสภา ใส่ดนตรีให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น แต่ใกล้จะ 8.00 น.แล้ว วันนี้ทำได้เท่านี้ ในเวลาทีั่้จำกัด ก็ถือว่าดีที่สุดแล้วกับบทกวีชิ้นแรก สำหรับงานชิ้นพิเศษกับสิ่งที่ต้องการถ่ายทอดเรื่องราวของในหลวง จากใจกลุ่มดินษ์รักฟ้า

            เอาไว้มีเวลาและโอกาสอำนวย หรือได้พบกับหัวหน้ากลุ่มดินรักษ์ฟ้า และคนทำดนตรีของกลุ่มนี้ จะไปบันทึกเสียงแบบไหน ก็ปรึกษาหารือ+ร่วมกันทำผลงานดังใจกันได้เลย

photo


            สำหรับบทกวีที่เขียนนี้ สำหรับเผยแพร่เมื่อ 28 เม.ย.2554 ซึ่งบทกวีฉบับสมบูรณ์นั้น สามารถที่จะแก้ไขปรับปรุง เพิ่มเติมเพื่อให้เนื้อหาสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นได้อีก



        คลิืปวิดีโอนี้ นำไปเผยแพร่ทางอินเตอร์เนต เผยแพร่ทาง facebook ให้หลายคนได้คลิกเข้ามาฟังด้วย



        เบื้องหลังการทำงาน ทั้งฝ่ายคุณแคทรียา และสุเวศน์ ภู่ระหงษ์ ต่างเข้าใจ และถ่ายทอดประเด็นได้ ผ่านการรับรู้ ในลักษณะ สุ จิ ปุ ลิ ทั้งสองฝ่าย ส่วนภาพที่เหลือนั้น สุเวศน์ ภู่ระหงษ์บอกว่า จะนำภาพมาวางเรียงกัน แล้วทำความเข้าใจประ้เด็น และถ่ายทอดออกมา ประมวลความคิด เป็นบทกวี ซึ่งหลักการทำงานนั้น 1-30 ภาพแรก ถือว่า เป็นการวางแนวทางการถ่ายทอดเนื้อหา และจากภาพที่ 31เป็นต้นไป เมื่อแนวทางชัดเจนแล้ว ก็สามารถถ่ายทอดเป็นบทร้อยกรองได้อย่างต่อเนื่องในเวลาที่รวดเร็วขึ้น

           งานทุกอย่าง คือ การเรียนรู้ เป็นการสร้างผลงานฝากไว้ในแผ่นดิน ฝากไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเีรียนรู้กันต่อไป...
           

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

6 ความคิดเห็น:

รักเธอ..ประเทศไทย.. รักในหลวง said...

เป็นกำลังใจให้พี่แคท อีกคนค่ะ :]

Kat DinRakFah said...

คุณลุงเก่งมากๆค่ะ
ประทับใจจริงๆ

Korn LoveKing said...

ขนลุก...ครับ
ขอบคุณครับคุณลุง..10000000 Like ")

Pee Bee said...

ในหลวงทรงพระเจริญ...พวกเรารักในหลวง..ครับ..กลอนซาบซึ้งครับคุณลุง..

Prateep Sungsaopas said...

ทรงพระเจริญ
"ครูของแผ่นดินไทย"
ขอบคุณครับ

Anna LoveKing said...

บ่อน้ำตาซึม..ทุกที เมื่อได้ชมเรื่องราวของพ่อหลวงในดวงใจ ขอบคุณ กลุ่มดินรักษ์ฟ้า คุณลุงสุเวศน์ ภู่ระหงษ์ คุณบอน กาฬสินธุ์ ที่นำเสนอเรื่องราวที่มีคุณค่ายิ่ง..ขอพ่อหลวงจงทรงพระเจริญ...

Post a Comment