Powered by Blogger.
RSS

เพลง สภาองค์รชุมชน โดย สุเวศน์ ภู่ระหงษ์ สภาของประชาชน ..รวมพลคนมีหัวใจ



        เพลง สภาองค์รชุมชน


       สุเวศน์ ภู่ระหงษ์, ว.พลเสน


      สภาองค์กรชุมชน จัดตั้งในทุกตำบล
เป็นสภาของประชาชน เพื่อทุกคนร่วมแรงร่วมใจ


      สภาองค์กรชุมชน รวมพลเพื่อเราก้าวไป
ชุมชนคนจันท์สดใส ใส่ใจชีวิตชุมชน


      อุปสรรคปัญหาอันใด จะคลี่คลายด้วยเหตุผล
จากความคิดของเราทุกคน อุทิศตนรวมพลคนจันท์


       สภาองค์กรชุมชน สร้างคนเป็นวิทยาทาน
ทุกปัญหานำพาจัดการ เพื่อคนจันท์สุขสรรค์นิรันดร


       สภาองค์กรชุมชน รวมพลคนมีหัวใจ
คนจันท์เราสุขสดใส ก้าวไปด้วยใจมั่นคง








รู้จักสภาองค์กรชุมชน
ความเป็นมาของพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน

     ชุมชน เป็นสังคมฐานรากที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์การพัฒนาประเทศที่ผ่านมา ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ชุมชนอ่อนแอ ประสบความยากจน เกิดปัญหาสังคม กระนั้นก็ดี ชุมชนมีการใช้ทุนทางสังคม วัฒนธรรม ภูมิปัญญา เพื่อการดำรงอยู่ ตลอดจนมีการร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นไปสู่ชุมชนเข้มแข็ง สามารถจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ

      นอกจากนี้ยังจะนำไปสู่การสร้างระบบประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลให้ชุมชนมี บทบาทสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่น ตามความหลากหลายของวิถีชีวิต วัฒนธรรม ภูมิปัญญาที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่น เพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

      จากเหตุการดังกล่าว จึงนำไปสู่ความคิดของการมีกฎหมายเพื่อรองรับการเกิดเวทีปรึกษาหารือของชุมชน ที่มีสถานะที่ชัดเจนเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย เป็นกฎหมายส่งเสริมไม่บังคับชุมชน สามารถดำเนินการเมื่อเกิดความพร้อมและเห็นพ้องต้องกัน รวมทั้งการคงความเป็นอิสระและความร่วมมือต่อกันของการทำงานในท้องถิ่น โดยในการดำเนินงานให้เกิด พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชนมีลำดับความเป็นมา ดังนี้

     1. ที่มา พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน ปัจจุบัน มีพื้นที่ตำบลที่องค์กรชุมชน แกนนำธรรมชาติ ปราชญ์ชาวบ้าน แกนนำที่เป็นทางการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. และสถาบันในท้องถิ่น (วัด โรงเรียน สถานีอนามัย) ได้มีการทำงานพัฒนาด้านต่างๆ เช่น การทำแผนชุมชน การจัดสวัสดิการ การจัดกาทรัพยากรสิ่งแวดล้อม การจัดการทุนของชุมชน จัดให้มีสภาผู้นำชุมชน ฯลฯ มีเวทีแลกเปลี่ยนร่วมกันคิด ร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้านต่าง ๆ นำไปสู่การสร้างเป้าหมายร่วมกันของพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ซึ่งจากการทำงานในแนวทางดังกล่าว ได้ช่วยให้เกิดการจัดการตนเองร่วมกันของชุมชนท้องถิ่น โดยที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม เกิดความสัมพันธ์อันดีภายในชุมชนท้องถิ่น

      จากการที่ชุมชนท้องถิ่นได้ร่วมกันจัดการตนเองตามแนวทางดังกล่าว และทำให้เกิดความเข้มแข็งส่งผลดีต่อชุมชนท้องถิ่นโดยรวม แกนนำชุมชนที่มีประสบการณ์ และคนทำงานพัฒนา จึงได้ร่วมกันยกร่าง พ.ร.บ. สภาองค์กรชุมชนขึ้นมา เพื่อให้มี พ.ร.บ. ที่จะช่วยหนุนเสริม สร้างการยอมรับการทำงานร่วมกันแบบสภาองค์กรชุมชน ทำให้กรณีตัวอย่างดี ๆ ที่ทำมาแล้วขยายออกไปพื้นที่อื่น พื้นที่ที่สนใจ และพร้อมจะร่วมกันสร้างสภาองค์กรชุมชน ที่ถือเป็นระบบประชาธิปไตยทางตรงจากฐานรากได้ร่วมกันทำเรื่องนี้ให้กว้าง ขวางยิ่งขึ้น

     2. กระบวนการร่าง พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน ในปี 2549 เครือข่ายองค์กรชุมชนร่วมกับวิทยาลัยการจัดการทางสังคม จัดสรุปบทเรียน "ประชาธิปไตยชุมชน...การเมืองสมานฉันท์" และ จัดเวทีสังคมสนทนา "การเมืองสมานฉันท์ สร้างสรรค์ชุมชนท้องถิ่น" ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นได้มีการจัดเวทีระดมความคิดเห็นในระดับภูมิภาคทั้ง 8 ภาคเพื่อพัฒนาข้อเสนอของภาคประชาชนต่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง โดยสาระหลักเป็นการปรับเปลี่ยนกลไกการบริหารโดยกระจายอำนาจไปที่ชุมชนท้อง ถิ่น ให้มีอิสระในการจัดการตนเอง พร้อมกับพัฒนาคนให้มีคุณภาพ มีคุณธรรมจริยธรรม เพื่อนำพาชุมชนและท้องถิ่นไปสู่การพึ่งตนเองได้อย่างแท้จริง จากนั้นในเดือน พ.ย.49 ผู้แทนองค์กรชุมชนทั่วประเทศจำนวน 200 คน ได้เข้าพบและนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับสภาองค์กรชุมชนต่อนายกรัฐมนตรี (พลเอกสุรยุทธ์ จุลลานนท์) ณ ทำเนียบรัฐบาล ต่อด้วยการยกร่างหลักคิดและเนื้อหาสาระ พ.ร.บ. สภาองค์กรชุมชน และได้จัดเวทีระดมความเห็นผู้นำชุมชนสี่ภาค และเกิดคณะทำงานเครือข่ายองค์กรชุมชนที่จะร่วมกันขับเคลื่อนเรื่องนี้ ซึ่งภายหลังได้จัดตั้งเป็นสมัชชาองค์กรชุมชนแห่งประเทศไทย ( สอท.)

      ต่อมาได้มีการจัดเวทีระดมความเห็นเกี่ยวกับร่างทั้งส่วนกลางและภูมิภาค 10 เวที สรุปเป็นร่าง พ.ร.บ. สภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นเสนอต่อกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาในเดือนมีนาคม 2550 และในเดือนเมษายน ได้เสนอต่อคณะอนุกรรมาธิการความมั่นคงของมนุษย์ (ครูชบ ยอดแก้วเป็นประธาน และครูมุกดา อินต๊ะสารเป็นรองประธาน) ในคณะกรรมาธิการกิจการเด็กฯ สภานิติบัญญัติ (สนช.) ซึ่งครูหยุย (วัลลภ ตังคณานุรักษ์) เป็นประธาน ในช่วงเดือนเดียวกันก็ได้มีการสัมมนาเปิดภาพการขับเคลื่อนสภาองค์กรชุมชน ท้องถิ่น ซึ่งมีเครือข่ายชุมชนจากทั่วประเทศเข้าร่วมกว่า 1,800 คน โดยรองนายกรัฐมนตรีไพบูลย์ วัฒนศิริธรรมและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ (นพ.พลเดช ปิ่นประทีป) เข้าร่วมเวที ซึ่งสรุปผลการสัมมนาเครือข่ายจะปฏิบัติการนำร่องสภาองค์กรชุมชน 200 ตำบล และจะผลักดันให้ พ.ร.บ. ผ่านในรัฐบาลชุดนี้ แต่หลังจากที่กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เสนอร่าง พ.ร.บ. เข้าพิจารณาในคณะรัฐมนตรี (5 มิถุนายน 2550) ปรากฎว่าในคณะรัฐมนตรีมีความเห็นที่แตกต่างกัน ซึ่งส่วนใหญ่สนับสนุนแต่บางส่วนคัดค้าน คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา จากความเห็นที่มีทั้งการสนับสนุนและการคัดค้าน ทำให้สื่อมวลชนทำข่าวเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง

      ในช่วงเดือน มิถุนายน-สิงหาคม 2550 สถาบันวิชาการทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคมีการจัดเวทีระดมความเห็นเรื่องนี้ อย่างกว้างขวางในส่วนของเครือข่ายชุมชนจึงได้ไปทำงานร่วมกับคณะอนุ กรรมาธิการความมั่นคงของมนุษย์ ในคณะกรรมาธิการกิจการเด็กฯ สภานิติบัญญัติ ซึ่งประธานสภานิติบัญญัติ (นายมีชัย ฤชุพันธ์) ได้มาช่วยซักถามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และปรับร่าง พ.ร.บ. จนสามารถเสนอ สนช. ได้เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2550 โดยรองนายกไพบูลย์ฯ ไปรับร่างจาก สนช. จากนั้นกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ได้จัดระดมความเห็นหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับร่างที่จะเสนอโดย รัฐบาล (23 สิงหาคม 2550) แต่เมื่อยังมีผู้คัดค้านนายกรัฐมนตรีจึงเห็นสมควรให้ออกเป็นระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรีไปก่อน โดยรัฐบาลไม่ได้ส่งร่างพ.ร.บ.ประกบร่างพ.ร.บ.ฉบับที่เสนอโดย สนช.เหมือนกฎหมายฉบับอื่น ๆ

      ในส่วนของคณะกรรมาธิการกิจการเด็กฯ สนช. ก็ได้จัดสัมมนารับฟังความเห็นผู้เกี่ยวข้อง (27 สิงหาคม 2550) จากนั้นครูมุกดา อินต๊ะสาร ได้เสนอร่าง พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน ให้ที่ประชุม สนช.พิจารณารับหลักการเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2550 ซึ่งได้มีผู้อภิปรายสนับสนุนสิบท่านคัดค้าน 1 ท่าน ที่ประชุมมีมติเห็นด้วย 61 เสียง ไม่เห็นด้วย 31 เสียง และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ 22 ท่าน ไปพิจารณารายละเอียด ซึ่งในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2550 คณะกรรมาธิการวิสามัญโดยนายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ เป็นประธาน ได้พิจารณาเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง 11 ครั้ง และนำเสนอ สนช. พิจารณาวาระที่สองและลงมติวาระที่สามในวันที่ 28 พ.ย. 50 ซึงที่ประชุม สนช. มีมติเห็นสมควรให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายอย่างเอกฉันท์ 83 เสียง

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment